13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ไทยเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ ฝรั่งเศส แลกการถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี

วันนี้ เมื่อ 120 ปีก่อน ไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ตรงข้ามเมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพรฝั่งให้ฝรั่งเศส แลกกับเมืองจันทบุรี ที่ฝรั่งเศสยึดไว้ตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2437)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453) การแผ่อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกรุนแรง และแข็งกล้า ยิ่งกว่าสมัยใดๆ..... มหาอำนาจตะวันตกที่คอยคุกคามไทยทางด้านตะวันออกคือ.....ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนครอบครองญวนทั้งประเทศ รวมทั้งเขมรส่วนนอก ทั้งหมดด้วย แต่ความต้องการของฝรั่งเศสไม่ได้หยุดนิ่งแค่นั้น ยังมีความต้องการที่จะครอบครองดินแดนที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นมีดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้ครอบครองของไทย การขยายตัวของฝรั่งเศส จึงสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยเรื่อยมา.......โดยเฉพาะ.. ความพยายามที่จะ แทรกแซงในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ โขง ในระยะแรกฝรั่งเศสได้แทรกแซงโดยวิธีการทูต แต่เมื่อเห็นว่าไม่ประสบผลสำเร็จจึงใช้นโยบายเรือปืนข่มขู่ไทย บริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดก็นำไปสู่วิกฤตกาลที่เรียกว่า "วิกฤตกาล ร.ศ. 112" เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 ผลของการรบปรากฏว่าฝ่ายไทยยอมจำนน และทำสัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2436

ตามสัญญาและอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 นี้นอกจากจะทำให้ไทยจะต้องเสียดินแดนริมฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเสียค่าปรับเป็นจำนวนมากแล้ว ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นหลักค้ำประกัน ตามสัญญาข้อ 6 ซึ่งระบุไว้ว่า "ฝรั่งเศสจะยึดจันทบุรีไว้จนกว่าไทยจะปฏิบัติตาม สัญญา ดังกล่าวครบถ้วน และจนกว่าจะเกิดความสงบเรียบร้อยทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในระยะ 25 กิโลเมตร"

การยึดครองจันทบุรีของกองทหารฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ยึดทั้งเมือง แต่จะยึดเฉพาะบริเวณอันเป็นที่ตั้งของกองทหารคือค่ายทหารในเมืองจันทบุรี กับค่ายทหารที่ปากน้ำแหลมสิงห์ โดยได้เข้ายึดตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2436 เป็นต้นมา จนกระทั่งได้ถอนออกไปเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2447 ภายหลังจากการได้ลงนามในอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2446 .........ผลของสนธิสัญญาฉบับนี้..............ฝรั่งเศสจะยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี แต่จะไปยึดตราดและด้านซ้ายแทนตามพิธีสารฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน 2447

ฝรั่งเศส...ได้เข้าปกครองจังหวัดตราดตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2447 แต่เป็นการปกครองดินแดนแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น ปรากฏว่าฝรั่งเศสปกครองเมืองตราดมาถึง วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 จึงถอนทหารออกไป ทั้งนี้ หลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ (ลงวันที่ 23 มีนาคม 2450) ได้มีการตกลงในหลักการสำคัญคือ แลกเปลี่ยนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ กับด่านซ้าย และตราดรวมทั้งหมู่เกาะที่อยู่ภายใต้แหลมลิง (ในตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน) ลงไทย อย่างไรก็ดีไทยไม่ได้รับมอบดินแดนคืนทั้งหมด เพราะเมืองประจันตคีรีเขตร (เกาะกง)ไม่ได้รับกล่าวถึงในสนธิสัญญา รวมเวลาที่เมืองตราดอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ประมาณ 3 ปี....


ที่มา : http://www.trat.go.th/trat100/trat_100/revers.htm