6 ธันวาคม ‘วันริบบิ้นขาว’ สัญลักษณ์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี รำลึกถึงเหตุฆาตกรรมหญิง 14 ราย ที่แคนาดา

ทุกวันที่ 6 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันริบบิ้นขาว (White Ribbon Day) หรือที่รู้จักกันในชื่อ วันชาติแห่งการรำลึกและยุติความรุนแรงต่อสตรี (National Day of Remembrance and Action on Violence against Women) ของแคนาดา

ทุกวันที่ 6 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันริบบิ้นขาว (White Ribbon Day) หรือที่รู้จักกันในชื่อ วันชาติแห่งการรำลึกและยุติความรุนแรงต่อสตรี (National Day of Remembrance and Action on Violence against Women) ซึ่งเป็นวันสำคัญของประเทศแคนาดา โดยเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นการรำลังถึงเหตุฆาตกรรมที่วิทยาลัยสารพัดช่าง ในเมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 14 รายและเป็นเพศหญิงทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่เหตุการณ์ยุติลงคนร้ายได้ออกมาประกาศตัวว่าต่อต้านสิทธิสตรี

ย้อนไปสู่จุดเริ่มต้น...ที่ประเทศแคนาดา เมื่อ ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) หรือ 2 ปี ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยมอนทรีออล จำนวน 14 คน โดยกลุ่มที่ทำการรณรงค์ครั้งแรกเป็นกลุ่มนักศึกษาชายจำนวน 1 แสนคน ที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และต้องการยุติปัญหาดังกล่าว จึงได้เรียกร้องให้ผู้ชายทั่วโลกร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาความรุนแรงต่อสตรี รวมทั้งแสดงตนว่าจะไม่ทำความรุนแรงต่อสตรี โดยการติดสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาวที่ปกเสื้อ ซึ่งหมายถึง การยอมรับว่าจะไม่ทำร้าย หรือ นิ่งเฉย ต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) องค์การสหประชาชาติได้รับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวัน ‘ขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล’ และในประเทศไทยได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542 กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เพื่อมุ่งเน้นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงทั้งต่อเด็กและสตรี โดยดำเนินการการณรงค์ตลอดเดือนพฤศจิกายนให้สังคมได้ตระหนักและร่วมป้องกันขจัดความรุนแรงต่อเด็กสตรีให้หมดสิ้นไป