Tuesday, 16 April 2024
TODAY SPECIAL

8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ‘จ่าคลั่ง’ ก่อเหตุกราดยิงที่โคราช หนึ่งในโศกนาฏกรรม ครั้งเลวร้ายที่สุดของไทย

ครบรอบ 3 ปี เหตุการณ์ จ่าคลั่ง ก่อเหตุกราดยิงผู้บริสุทธิ์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

เรียกว่ายังคงจำฝังใจคนไทย สำหรับเหตุการณ์ กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เป็นเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กรณีจ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาและญาติถึงแก่ความตาย แล้วหลบหนีเข้ามาในตัวเมือง กราดยิงผู้คนตามรายทาง ก่อนเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จับบุคคลในห้างเป็นตัวประกัน 

สำหรับเหตุการณ์ในวันนั้นเริ่มขึ้น เวลาประมาณ 15.30 น. 8 กุมภาพันธ์ 2563 จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชา คือ พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี ผู้บังคับกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 และนางอนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 65 ปี แม่ยายของพันเอก อนันต์ฐโรจน์ ถึงแก่ความตายที่บ้านพักในตำบลหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่นายหน้าวิ่งหนีไป จึงถูกไล่ยิงเข้าข้างหลังแต่ไม่เสียชีวิต

จากนั้น จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ไปชิงอาวุธสงครามออกมาจากคลังอาวุธกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล โดยยิงทหารเวรกองรักษาการณ์ และทหารดูแลคลังอาวุธ มีพลทหารบาดเจ็บ 1 นาย เสียชีวิตอีก 1 นาย ต่อมา จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถฮัมวีหลบหนีออกไปทางด้านหลังค่าย มุ่งไปทางวัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล เพราะทราบว่าภรรยาของผู้บังคับบัญชาออกไปทำบุญที่วัดป่าศรัทธารวม ได้กราดยิงผู้คนตามรายทางถึงแก่ความตายรวม 9 คน คนร้ายกราดยิงกระสุนนับร้อยนัด โดยยิงคนในรถเสียชีวิตและบาดเจ็บ ยังยิงเด็กนักเรียนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และยังเดินไปยิงซ้ำอีก จากนั้นมีตำรวจมา 2 นาย ไม่ทันลงจากรถก็ถูกยิงจนพรุนเสียชีวิต แต่ปรากฏว่า ได้ทราบว่า ภรรยาของผู้บังคับบัญชาไปกินข้าวที่เทอร์มินอล 21 โคราช

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในหลวง ร.9 เสด็จฯ ทรงเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของไทย

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่ทำประโยชน์ให้พื้นที่เกษตรภาคกลาง

วันนี้เมื่อ 66 ปีมาแล้ว เป็นวันสำคัญเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย

6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันมวยไทย’ มรดกภูมิปัญญาจากบรรพชน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ‘พระบิดาแห่งมวยไทย’

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็น ‘วันมวยไทย’ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ‘พระบิดาแห่งมวยไทย’ พระมหากษัตริย์ไทยที่มีพระปรีชาสามารถด้านมวยไทย ส่งต่อภูมิปัญญามาจวบจนปัจจุบัน

‘มวยไทย’ เป็นศิลปะการต่อสู้และการป้องกันตัวของชนชาติไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้ำค่า ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อให้มรดกภูมิปัญญานี้ได้รับการยกย่อง ส่งเสริม และเชิดชูให้คนในชาติให้ความสำคัญต่อศิลปะการป้องกันตัวของชาติไทย ได้รับการสืบสาน รักษาพร้อมต่อยอด เป็น Soft Power พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยืน 

5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’

วันนี้ เมื่อ 162 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’ ถนนหลักสายแรกของประเทศไทย

ถนนเจริญกรุง ถูกดำริให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติ ได้เข้ามาทำธุรกิจห้างร้าน รวมถึงที่ทำการกงสุลต่าง ๆ ก็ถูกก่อสร้างขึ้นในย่านนี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอให้สร้างถนนสายสำหรับขี่ม้า หรือนั่งรถม้า พระองค์จึงทรงดำริให้มีการสร้างถนนที่มีมาตรฐานขึ้น แล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2407

แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเรียกถนนสายนี้ว่า ‘ถนนใหม่’ ส่วนฝรั่งเรียกว่า ‘นิวโรด’ (New Road) และชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่ เช่นกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ‘ถนนเจริญกรุง’ ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ร.5 ทรงเปิดโรงกษาปณ์สิทธิการ แห่งที่ 3 พร้อมเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ไฟฟ้าครั้งแรก

ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้าของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้ เหรียญกษาปณ์เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เครื่องจักรแรงดันไอน้ำที่มีอยู่เริ่ม ชำรุดเนื่องจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถึง 25 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์สิทธิการแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย 6 พระองค์ ซึ่งเรียกสถานที่นี้ว่า ‘วังสะพานเสี้ยว’ ริมคลองหลอดด้าน ถนนเจ้าฟ้าทางทิศเหนือของท้องสนามหลวง โดยมีลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน สูง 2 ชั้น มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก เมื่อย้ายโรงกษาปณ์ไปอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติคือ ‘หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า’ ในปัจจุบัน

พิธีเปิดโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการมีขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น ‘กรมกษาปณ์ สิทธิการ’ ติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ ซึ่งทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าสามารถผลิตเหรียญได้ประมาณวันละ 80,000 ถึง 100,000 เหรียญ โดยไม่ต้องทำการล่วงเวลา ส่วนเงินพดด้วงได้ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2451

เมื่อมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมาตราทองคำ รัตนโกสินทร์ศก 127 (พ.ศ. 2451) ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1 บาทตราพระบรมรูปตราไอราพต จากโรงกษาปณ์ปารีส จำนวน 1,036,691 เหรียญ แต่ไม่ทันได้ประกาศใช้ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โดยตราไอราพตได้ใช้เป็นตราประจำแผ่นดินเรื่อยมาจนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โลหะที่ใช้ในการ ผลิตเหรียญกษาปณ์มีราคาสูงขึ้น จึงต้องลดส่วนผสมของโลหะเงินลงและผลิตธนบัตร ราคา 1 บาทออกใช้แทน เหรียญกษาปณ์

3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันทหารผ่านศึก’ ร่วมสดุดีวีรกรรมทหารกล้า

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารกล้า อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องทหารกล้าและให้ความช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยยึดถือจากวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึก ได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การกุศลของรัฐมาเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และกระทรวงกลาโหมจะจัดกองทุนรับเงินอุดหนุนขึ้น และปี พ.ศ.2511 ภริยานายทหารชั้นผู้ใหญ่ริเริ่มจัดทำดอกป๊อปปี้ออกจำหน่ายเพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา 

2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวัน ‘นักประดิษฐ์’ เทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9

วันนักประดิษฐ์ ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ กังหันชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นวันที่สภาวิจัยแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับการจดสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจดทะเบียนออกสิทธิบัตรให้แก่พระราชวงศ์ 

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 จึงได้กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นวันที่ระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และทรงได้รับสมัญญาว่า 'พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย' 

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชามอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานกลางในการจัดงาน 'วันนักประดิษฐ์' ขึ้น เพื่อดำเนินการส่งเสริมการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ 

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ‘รัฐบาลทักษิณ’ ประกาศสงครามกับยาเสพติด ส่งผลเกิดเหตุฆ่าตัดตอนนับพันราย

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 วันนี้ในอดีต รัฐบาลโดยการนำของ ทักษิณ ชินวัตร ประกาศปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทยชนิดเข้มข้น หลังการประกาศเพียง 3 เดือน เกิดคดีการฆ่าตัดตอนขึ้นนับพันราย

หลายคนจดจำ ‘รัฐบาลทักษิณ’ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2547 กับสโลแกน ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ กันได้ดี แต่หนึ่งในเหตุการณ์ที่ต้องถือว่าเป็นไฮไลท์ในยุคที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ นั่นก็คือ การปราบปรามยาเสพติด

โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 อดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า จะทำสงครามกับขบวนการค้ายาเสพติดในประเทศไทยชนิดเด็ดขาด! และนับจากเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเมษายนของปีนั้น เกิดการฆาตกรรมที่เชื่อมโยงมาจากการปราบปรามยาเสพติดกว่า 2 พันราย!

31 มกราคม พ.ศ.2408 เชิญ ‘พระบาง’ จากวัดจักรวรรดิราชาวาสฯ คืนสู่หลวงพระบาง

วันนี้ เมื่อ 158 ปีก่อน อัญเชิญ ‘พระบาง’ จากวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหวิหาร ไปยังหลวงพระบาง

ในปี พ.ศ. 2369-2371 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองอีสานทั้งหมด ยึดได้เมืองนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกกองทัพไปปราบ ในที่สุดปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ เมื่อจัดการบ้านเมืองทางอีสานให้เข้าสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว 

30 มกราคม พ.ศ. 2491 ‘มหาตมะ คานธี’ ถูกยิงเสียชีวิต ด้วยฝีมือชายชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา

30 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) นาถูราม โคทเส ยิง มหาตมะ คานธี ผู้นำทางการเมือง และ จิตวิญญาณของชาว อินเดีย เสียชีวิต ในเมืองเดลี

ช่วงเย็นของวันที่ 30 มกราคม มหาตมะ คานธี 2491 (ค.ศ. 1948) ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอินเดียกำลังยืนอยู่กลางสนามหญ้า ในขณะพนมมือสวดมนต์ตามกิจวัตร คานธีถูกนายนาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนาและไม่ต้องการฮินดู (อินเดีย) สมานฉันท์กับมุสลิม (ปากีสถาน) ใช้อาวุธปืนยิงใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลงขณะพนมมือ รายงานส่วนใหญ่บรรยายว่า คานธีเปล่งเสียงแผ่วเบาว่า 'ราม' (บ้างก็ว่า 'เห ราม' ซึ่งมีความหมายว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) เป็นการปิดฉากบั้นปลายชีวิตของมหาบุรุษผู้ต่อสู้กับมหาอำนาจด้วยสันติวิธีในวัย 78 ปี ภายหลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ได้เพียง 6 เดือน

สำหรับประวัติของชายผู้นำการเรียกร้องเอกราชและความเสมอภาค ที่ชื่อ มหาตมะ คานธี ที่เน้นความเป็นสันติวิธี เรียกกันว่าสัตยาเคราะห์ มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่คานธีเป็นทนายความในวัย 24 ปี โดยเกิดขึ้นบนสถานีรถไฟในประเทศแอฟริกาใต้ครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ

เป็นเหตุการณ์หลังจากที่คานธีเรียนจบกฎหมายจากลอนดอนกลับมาอยู่ที่อินเดียได้ไม่นาน คานธีเดินทางไปแอฟริกาใต้เพื่อไปเป็นนักกฎหมายประจำบริษัท Dada Abdulla ที่ทำการค้าอยู่ที่นั่น ในเดือนเมษายน ปี 1893 คานธีซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นตู้รถไฟที่หรูหราสะดวกสบายตามอัตราค่าบริการที่สูง แต่เขากลับถูกไล่ลงจากสถานีแรก ให้ไปอยู่ที่ตู้รถไฟชั้นสาม (ชั้นทั่วไปที่ไม่มีความสะดวกสบายและราคาถูก) โดยพนักงานตรวจตั๋วและผู้โดยสารชาวอังกฤษที่อ้างว่าตู้รถไฟชั้นหนึ่งสร้างขึ้นสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น

นั่นทำให้คานธีตระหนักได้ว่า ไม่เฉพาะชาวอินเดียที่ถูกข่มเหงจากคนอังกฤษ ยังรวมไปถึงชาวแอฟริกาที่ถูกกระทำไม่ต่างกับสัตว์ ในที่สุดคานธีคิดว่าเขาจะอยู่ต่อและต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Eec Time Thailand
Take Me Top